วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การมอดูเลตเชิงเลขทางความถี่ (FSK)

การมอดูเลตเชิงเลขทางความถี่ (FSK)
          การมอดูเลตแบบ FSK ขนาดของคลื่นพาห์จะไม่ เปลี่ยนแปลง ลักษณะของสัญญาณมอดูเลตนั้น เมื่อค่า ของบิตของสัญญาณข้อมูลดิจิตอลมีค่าเป็น 1 ความถี่ ของคลื่นพาห์จะสูงกว่าปกติ และเมื่อบิตมีค่าเป็น 0 ความถี่ของคลื่นพาห์ก็จะต่ ากว่าปกติ
ขอบคุณรูป
http://maprangsweet.blogspot.com/2012/01/6.html
ขอบคุณข้อมูล
http://lms.rmutsb.ac.th/elearning/claroline/backends/download.phpurl=L%2BC4hOC4o%2BC4seC5ieC4h%2BC4l%2BC4teC5iF8zX%2BC4geC4suC4o%2BC4oeC4reC4lOC4ueC5gOC4peC4leC4quC4seC4jeC4jeC4suC4ky5wZGY%3D&cidReset=true&cidReq=1962301

PAM ( Pulse Amplitude Modulation )

PAM ( Pulse Amplitude Modulation )
          จะเกิดจากการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) สัญญาณ Analog ตามช่วงเวลาที่เท่าๆกันและใช้ตัวอย่างเหล่านี้แทนสัญญาณ Analog
การโมดูเลตทางแอมปลิจูดของพัลส์ (PAM)
          โดยอาศัยหลักการแซมปิง หรือ การชักตัวอย่าง (Sampling) ของสัญญาณที่เป็นอนาล็อก (ต่อเนื่อง) ตามช่วงเวลาให้สัญญาณนั้นขาดจากกันเป็นพัลส์ๆ โดยขนาดของแต่ละพัลส์จะเท่ากับขนาดของสัญญาณเดิมในช่วงเวลานั้นๆ ทางทฤษฎีการแซมปิงจะทำด้วยอัตราสองเท่าของแบนด์วิธของสัญญาณอนาล็อกเป็นจำนวนครั้งต่อวินาที (อัตราแซมปิง = 2 BW เฮิรตซ์) ยิ่งถ้าซิมปิงสัญญาณด้วยอัตราน้อยเท่าไร เราก็จะได้สัญญาณพัลส์ที่ใกล้เคียงกับสัญญาณเดิมมากที่สุด แต่ถ้าอัตราน้อยเกินไปสัญญาณก็จะกลับไปเป็นสัญญาณอนาล็อกเหมือนเดิม
การโมดูเลตแบบรหัสพัลส์ (PCM)
          เนื่องจากขนาดของพัลส์ใน PAM ยังคงเป็นแบบต่อเนื่องการส่งสัญญาณแบบ PAM จึงไม่ได้ต่างอะไรกับการส่งสัญญาณอนาล็อกเลย ดังนั้นในวิธีการส่งแบบ PCM จึงมีขั้นตอนในการทำให้ขนาดของสัญญาณของข้อมูลเป็นแบบไม่ต่อเนื่องก่อน ด้วยวิธีที่เรียกว่า การควอนไทซ์ (Quantize) ขั้นตอนการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลโดยวิธี PCM
Pulse Amplitude Modulation Signal
ขอบคุณรูปจาก https://www.elprocus.com/pulse-amplitude-modulation/

ขอบคุณข้อมูล
          https://digitalcpe2.wordpress.com/pam-pulse-amplitude-modulation-pcm-pulse-code-modulation/

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

น้ำตกแม่ยะ

น้ำตกแม่ยะ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และมีแหล่งต้นน้ำมาจากห้วยแม่ยะที่ไหลรวมกันมาเป็นม่านน้ำตกขนาดใหญ่ตกลงมาจากหน้าผาสูงชันร่วม 280 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ในบริเวณแอ่งน้ำตกด้านล่าง ในบริเวณน้ำตกแม่ยะนอกจากจะมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ก็ยังเป็นจุดชมนก ชมผีเสื้อ และชมดอกไม้ป่าอีกด้วย
สถานที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่                                                                                                ขอบคุณข้อมูลจาก Skyscanner                                                                         https://www.skyscanner.co.th/news/ท่องเที่ยวเมืองไทยกับ-10

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กุ้งอบวุ้นเส้น

สูตร กุ้งอบวุ้นเส้น


ส่วนผสม
  • ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
  • ซีอิ๊วดำ 2 ช้อนชา
  • ซอสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
  • น้ำซุป 1/4 ถ้วย
  • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งขาว 3 ตัว
  • วุ้นเส้น 200 กรัม
  • เบคอน ตามชอบ
  • ขิงแก่ ตามชอบ
  • กระเทียม 4-6 หัว
  • พริกไทยขาว ตามชอบ
  • คื่นช่าย ตามชอบ                                  
 วิธีทำ
1.ผสมเครื่องปรุงรสก่อนโดยใส่ ซอสหอยนางรม ซีอิ๊วดำ ซอสปรุงรส น้ำตาลทราย น้ำซุป และซีอิ๊วขาว คนให้เข้ากัน
2.นำกุ้งลงไปแช่ส่วนผสม แล้วตักขึ้นมาวางพักไว้ จากนั้นก็นำวุ้นเส้นลงไปคลุกกับส่วนผสม
3.นำหม้อมาตั้งไฟอ่อนๆ (ใช้หม้อสำหรับกุ้งอบวุ้นเส้น) ใส่เบคอนลงไป ผัดกับขิงแก่ กระเทียม และพริกไทยขาว ผัดจนน้ำมันออกมาจากเบคอน
4.ใส่วุ้นเส้นลงไปในหม้อ ตามด้วยกุ้ง และคื่นช่าย ปิดฝาอบ อบด้วยไฟอ่อน 5 นาที จนกุ้งด้านบนสุก
5.เสร็จแล้วก็ยกลงมาจากเตา เสิร์ฟทั้งหม้อได้เลย

 เรียบเรียงโดย Food MThai




วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กุ้งล็อบสเตอร์

กุ้งล็อบสเตอร์


ล็อบสเตอร์ (Lobster) เป็นสัตว์ทะเลน้ำเค็มขนาดใหญ่ ลักษณะลำตัวจะมีสีดำปนแดง[1] ชื่อของกุ้งชนิดนี้มาจากคำในภาษาอังกฤษสมัยโบราณว่า Loppestre เป็นคำสมาสของคำภาษาละตินว่า Locusta แปลว่า ตั๊กแตน และ Loppe ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่า แมงมุม ล็อบสเตอร์เป็นสัตว์ขาปล้อง สายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือล็อบสเตอร์ยุโรปกับล็อบสเตอร์อเมริกา เจริญเติบโตด้วยการลอกคราบ เนื่องจากฟันที่ใช้บดอาหารในกระเพาะอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกภายนอก จึงจำเป็นต้องดึงเอาเนื้อเยื่อของลำคอ กระเพาะ และทวารหนักออกมาด้วย แต่ไม่ใช่ทุกตัวที่จะรอดชีวิตจากกระบวนการลอกคราบนี้


เรียบเรียงจาก วิกิพีเดีย 
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ทะเลไทย

ทะเลไทย สวยติดอันดับโลก 
1. หมู่เกาะสิมิลัน ทะเลน้ำใส                                                                                                                                                                                  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา อำเภอท้ายเหมือง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในแถบบริเวณนี้ หรือแม้แต่นักเที่ยวที่เดินทางมาสัมผัสเองต่างก็เปรียบเปรยว่าที่นี่เหมือนสรวงสวรรค์ใต้สมุทรที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตใต้น้ำหลากสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นหมู่ปะการัง หรือหมู่ปลาหลากสีสันน้อยใหญ่ มีน้ำทะเลใสราวกับกระจก พอมองภาพกว้างๆ แล้วนึกว่าเรือลอยได้ บริเวณชายหาดยังมีหาดทรายสีขาวนวลเนียนน่าเดินเลยลุยรับลมทะเลเป็นอย่างมาก  อีกทั้งที่นี่ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของแหล่งน้ำลึกที่สวยงาม ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก แนะนำว่า ใครที่จะเดินทางมาที่นี่อยากให้มาอยู่สัก 3 วัน 2 คืน รับรองว่าจุใจแน่ ทั้งดำน้ำ ทั้งดูทัศนียภาพธรรมชาติรอบๆ ที่สวยๆ น่าจะเต็มอิ่มจนไม่อยากกลับเลยทีเดียวล่ะ                                                                                                                                
  หมู่เกาะสิมิลัน ทะเลน้ำใส

 หมู่เกาะสิมิลัน ทะเลน้ำใส
  ขอบคุณข้อมูลจาก sanook
          https://www.sanook.com/travel/1397261/
































วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คาตานะ

ผ่าประวัติศาสตร์ดาบซามูไร: คาตานะ
ดาบคาตานะเป็นดาบญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดตลอดกาล อาวุธที่ดูน่าเกรงขามชนิดนี้ ไม่ได้เพียงแต่ดูสง่างามในยามกวัดแกว่งเท่านั้น แต่ยังมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานแฝงอยู่ในโค้งดาบอันงดงาม
คาตานะเป็นดาบชนิดหนึ่งที่ใช้กันในสมัยโบราณของประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะที่สะดุดตา คือ มีความโค้งเล็กน้อยและมีด้านคมด้านเดียว มีกำบังรูปโค้งหรือสี่เหลี่ยม และด้ามจับที่มีลายแบบเดียวกันสำหรับถือด้วยสองมือ เป็นดาบที่จะคาดอยู่ที่เอวของเหล่านักรบซามูไรในอดีต                                  ความเป็นมา                                                                                           
          การผลิตดาบมีมาหลายศตวรรษแล้วในประเทศญี่ปุ่น แบ่งได้เป็นยุคต่าง ๆ คือ จูโคะโตะ (Joukoto) (ประมาณ ค.ศ. 900 ), โคะโตะ (Koto) (ค.ศ. 900-1596), ชินโตะ (Shinto) (ค.ศ. 1596-1764), ชินชินโตะ (Shinshinto) (ค.ศ.1764-1876), เก็นไดโตะ (Gendaito) (ค.ศ. 1876-1945) และชินซาคุโตะ (Shinsakuto) (ค.ศ. 1953 ถึงปัจจุบัน)                                                                                                                        ลักษณะของดาบคาตานะ
          ดาบคาตานะปรากฎขึ้นครั้งแรกประมาณปี ค.ศ.1400 ถือเป็นดาบแบบใหม่ที่พัฒนามาจากดาบทาชิ (“tachi”) สำหรับคาตานะ หมายถึง คมดาบที่หันขึ้น โดยการตั้งชื่อดาบนั้นจะสื่อถึงลักษณะของรูปแบบคมดาบใหม่ เช่น “อุจิกาตานะ” (“Uchigatana”) หรือ “ทสึบะกาตานะ” (“Tsubagatana”)
          ดาบชนิดใหม่นี้ ทำให้รูปแบบการต่อสู้เปลี่ยนไปด้วย โดยนักรบที่ใช้ดาบคาตานะจะสามารถชักดาบและฟันได้ในการเคลื่อนไหวเพียงครั้งเดียว ทำให้การต่อสู้เป็นไปอย่างรวดเร็วและขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวแรกเป็นหลัก ช่างตีดาบจะต้องทราบถึงรูปแบบการต่อสู้เพื่อที่จะผลิตดาบออกมาได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน ความยาวของดาบคาตานะในสมัยศตวรรษที่ 16 อยู่ในช่วงประมาณ 70-73 ซม. โดยมีการเปลี่ยนแปลงให้สั้นลงไปจนถึง 60 ซม. ก่อนที่ในอีก 100 ปีต่อมาจะกลับไปอยู่ที่ความยาวเดิม
          ดาบคาตานะสามารถใช้คู่กับดาบขนาดเล็กกว่าได้ เช่น “วากิซาชิ” (“wakizashi”) หรือ “ตันโตะ” (“tantō”) การพกดาบคู่สั้นยาวนี้เรียกว่า “ไดโช” (“daishō”) ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงอำนาจและชนชั้นทางสังคมของซามูไร
ประวัติศาสตร์ของดาบคาตานะ
          ในสมัยเมจิ ดาบคาตานะลดความสำคัญลงไปพร้อม ๆ กับสถานะและการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยของซามูไร จนกระทั่งไม่มีการใช้ดาบชนิดนี้และแทบจะสูญหายไป เพราะมีกฎหมายการห้ามพกอาวุธในที่สาธารณะ จนกระทั่งถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีเฉพาะคนในกองทัพเท่านั้นที่ได้รับอนุญาติให้พกดาบได้ อย่างไรก็ตาม การผลิตดาบจะอยู่ในรูปแบบอุตสาหกรรมที่ลดคุณภาพลงและมีลักษณะแตกต่างออกไป เมื่อเวลาผ่านเลยไปความรู้เกี่ยวกับการตีดาบก็ค่อย ๆ เลือนหายไป
          หลังจากมีการห้ามผลิตดาบในช่วงปี ค.ศ. 1945 ถึง 1953 บรรดาช่างตีดาบได้รับอนุญาตให้ทำงานภายใต้กฎที่เข้มงวด แม้แต่ในปัจจุบันช่างเหล่านี้ก็ต้องผ่านการฝึกงานเป็นระยะเวลา 5 ปี และสามารถตีดาบยาวได้เพียงแค่ 2 เล่มต่อเดือน และดาบทุกเล่มจะต้องได้รับการลงทะเบียนจากรัฐบาล
           ในปัจจุบัน ดาบคาตานะส่วนมากทำขึ้นในรูปแบบอุตสาหกรรมด้วยวัสดุและวิธีการที่ถูกลง ดาบคาตานะแบบดั้งเดิมจึงกลายเป็นของหายากและมีราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมของเหล่านักสะสมทั่วโลก

ขอบคุณข้อมูลจาก jpninfo

http://jpninfo.com/thai/6331

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รูป

Gear
ที่มา : https://mocah.org/4600146-macro-cogwheel-gear-engine-vintage-industrial.html

Engine-Car
ที่มา : https://mocah.org/4514734-engine-car.html