วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การมอดูเลตเชิงเลขทางเฟส (PSK)

การมอดูเลตเชิงเลขทางเฟส (PSK)
          การมอดูเลตแบบ PSK ค่าของขนาดและความถี่ ของคลื่นพาห์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ที่เปลี่ยนคือ เฟสของสัญญาณ เมื่อมีการเปลี่ยนสภาวะจากบิต 1 เป็น 0 หรือเปลี่ยนจาก 0 เป็น 1 เฟสของคลื่นจะ เปลี่ยนไป 180องศา
ขอบคุณรูป
http://maprangsweet.blogspot.com/2012/01/6.html
ขอบคุณข้อมูล
http://lms.rmutsb.ac.th/elearning/claroline/backends/download.phpurl=L%2BC4hOC4o%2BC4seC5ieC4h%2BC4l%2BC4teC5iF8zX%2BC4geC4suC4o%2BC4oeC4reC4lOC4ueC5gOC4peC4leC4quC4seC4jeC4jeC4suC4ky5wZGY%3D&cidReset=true&cidReq=1962301

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

PCM ( Pulse Code Modulation)

PCM ( Pulse Code Modulation)
          เป็นแบบแผนดิจิตอลสำหรับการส่งข้อมูลอะนาล็อก สัญญาณเป็น PCM เป็น binary ซึ่งมี 2 สถานะ แสดงด้วย logic 1 (สูง) และ logic 0 (ต่ำ) ความจริง คือ ไม่มีความซับซ้อนที่เกิดกับ รูปแบบคลื่นอะนาล็อก การใช้ PCM ทำให้สามารถแปลงเป็นดิจิตอล จากรูปแบบทั้งหมดของข้อมูลอะนาล็อก รวมถึงภาพเคลื่อนไหว, เสียง, เพลง สิ่งเสมือนจริง การส่งเข้า PCM จากรูปแบบคลื่นอะนาล็อกที่ต้นทาง (ปลายด้านส่ง) ของวงจรการสื่อสาร ความสูงของสัญญาณอะนาล็อก จะได้รับการวัด (sample) ภายในช่วงเวลา อัตรา sampling หรือ จำนวน sample ต่อวินาที เป็นเวลาหลายครั้งที่ความถี่สูงสุด ของรูปแบบคลื่นอะนาล็อกในรอบวินาที หรือเฮิร์ทซ ความสูงของสัญญาณอะนาล็อกมีแต่การ sample จะปรับเป็นค่าใกล้ที่สุด ของการระบุหลายระดับ กระบวนการนี้เรียกว่า quantization จำนวนของระดับจะเป็น เลขยกกำลังของ 2 เช่น 2, 16, 32 หรือ 64 จำนวนเหล่านี้สามารถแทนด้วย binary digit (บิต) 3, 4, 5 หรือ 6 ผลลัพธ์ของ pulse code modulator เป็นชุดอนุกรมของเลขฐานสองที่แทน ด้วยคำสั่งของ 2 บิต ที่จุดปลายทาง (ปลายด้านรับ) ของวงจรการสื่อสาร pulse code modulator จะแปลงเลขฐานสอง กลับมาสู่ระดับควอนตัมเดิม ใน modulator ซึ่ง pulse เหล่านี้จะเข้าสู่กระบวนการคืนสภาพ เป็นรูปแบบคลื่นอะนาล็อกเดิม
ขั้นตอนการโมดูเลตแบบ PCM มีดังนี้
          1.ทำการ “ควอนไทซ์” สัญญาณอนาล็อก โดยทำให้ค่าขนาดของสัญญาณเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง เสียก่อน
          2.จากนั้นทำการ “แซมปิง” สัญญาณด้วยอัตราที่เหมาะสม เราก็จะได้สัญญาณ PAM ซึ่งในแต่ละพัลส์นั้นสามารถจะกำหนด รหัสแทนพัลส์ ได้ด้วยรหัสของเลขฐานสอง
          3.รหัสของแต่ละพัลส์ก็จะถูกส่งออกไปในรูปแบบของเลขฐานสองเมื่อสัญญาณ PCM
Pulse Code Modulation
          เกี่ยวข้องกับการแปลงสัญญาณอนาล็อก เช่น สัญญาณโทรศัพท์ ให้เป็นขบวนพัลส์ (pulse train) ในรูปของรหัส (code) ซึ่งมีแอมปลิจูดคงที่ แล้วส่งไปในช่องส่งสัญญาณ ส่วนปลายทางด้านรับขบวนพัลส์ดังกล่าวจะถูกแปลงกลับเป็นสัญญาณอนาล็อก ดังเดิมการส่งขบวนพัลส์นี้เป็นลักษณะของ Digital Transmission ซึ่งมีข้อได้เปรียบเหนือ analog transmission ในเรื่องภูมิคุ้มกันต่อสัญญาณรบกวน (noise)และความเพี้ยนต่าง ๆ การเปลี่ยนสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล ประกอบด้วยหลักการใหญ่ ๆ 3 ประการ คือ
          1.การสุ่มตัวอย่าง (sampling) ซึ่งเราจะได้ขบวนพัลส์ตัวอย่าง (sample pulse) หรือ PAM
          2.การนำสัญญาณ PAM มาจัดระดับแอมปลิจูดใหม่ (Quantizing)
          3.การนำ PAM แต่ลูกไปเข้ารหัส (coding)
หลักการของ Pulse Code Modulation
          จะเกิดจากการทำ Quantize สัญญาณ Analog ก่อน แล้วทำขบวนการ PAM จากนั้นก็จะส่งเป็นสัญญาณ Digital ต่อไป
Pulse Code Modulation
ขอบคุณรูปจาก 
https://www.tutorialspoint.com/digital_communication/digital_communication_pulse_code_modulation.htm
ขอบคุณข้อมูลจาก                                                                                                      
https://digitalcpe2.wordpress.com/pam-pulse-amplitude-modulation-pcm-pulse-code-modulation/                                                                                              

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การมอดูเลตเชิงเลขทางความถี่ (FSK)

การมอดูเลตเชิงเลขทางความถี่ (FSK)
          การมอดูเลตแบบ FSK ขนาดของคลื่นพาห์จะไม่ เปลี่ยนแปลง ลักษณะของสัญญาณมอดูเลตนั้น เมื่อค่า ของบิตของสัญญาณข้อมูลดิจิตอลมีค่าเป็น 1 ความถี่ ของคลื่นพาห์จะสูงกว่าปกติ และเมื่อบิตมีค่าเป็น 0 ความถี่ของคลื่นพาห์ก็จะต่ ากว่าปกติ
ขอบคุณรูป
http://maprangsweet.blogspot.com/2012/01/6.html
ขอบคุณข้อมูล
http://lms.rmutsb.ac.th/elearning/claroline/backends/download.phpurl=L%2BC4hOC4o%2BC4seC5ieC4h%2BC4l%2BC4teC5iF8zX%2BC4geC4suC4o%2BC4oeC4reC4lOC4ueC5gOC4peC4leC4quC4seC4jeC4jeC4suC4ky5wZGY%3D&cidReset=true&cidReq=1962301

PAM ( Pulse Amplitude Modulation )

PAM ( Pulse Amplitude Modulation )
          จะเกิดจากการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) สัญญาณ Analog ตามช่วงเวลาที่เท่าๆกันและใช้ตัวอย่างเหล่านี้แทนสัญญาณ Analog
การโมดูเลตทางแอมปลิจูดของพัลส์ (PAM)
          โดยอาศัยหลักการแซมปิง หรือ การชักตัวอย่าง (Sampling) ของสัญญาณที่เป็นอนาล็อก (ต่อเนื่อง) ตามช่วงเวลาให้สัญญาณนั้นขาดจากกันเป็นพัลส์ๆ โดยขนาดของแต่ละพัลส์จะเท่ากับขนาดของสัญญาณเดิมในช่วงเวลานั้นๆ ทางทฤษฎีการแซมปิงจะทำด้วยอัตราสองเท่าของแบนด์วิธของสัญญาณอนาล็อกเป็นจำนวนครั้งต่อวินาที (อัตราแซมปิง = 2 BW เฮิรตซ์) ยิ่งถ้าซิมปิงสัญญาณด้วยอัตราน้อยเท่าไร เราก็จะได้สัญญาณพัลส์ที่ใกล้เคียงกับสัญญาณเดิมมากที่สุด แต่ถ้าอัตราน้อยเกินไปสัญญาณก็จะกลับไปเป็นสัญญาณอนาล็อกเหมือนเดิม
การโมดูเลตแบบรหัสพัลส์ (PCM)
          เนื่องจากขนาดของพัลส์ใน PAM ยังคงเป็นแบบต่อเนื่องการส่งสัญญาณแบบ PAM จึงไม่ได้ต่างอะไรกับการส่งสัญญาณอนาล็อกเลย ดังนั้นในวิธีการส่งแบบ PCM จึงมีขั้นตอนในการทำให้ขนาดของสัญญาณของข้อมูลเป็นแบบไม่ต่อเนื่องก่อน ด้วยวิธีที่เรียกว่า การควอนไทซ์ (Quantize) ขั้นตอนการแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอลโดยวิธี PCM
Pulse Amplitude Modulation Signal
ขอบคุณรูปจาก https://www.elprocus.com/pulse-amplitude-modulation/

ขอบคุณข้อมูล
          https://digitalcpe2.wordpress.com/pam-pulse-amplitude-modulation-pcm-pulse-code-modulation/

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

น้ำตกแม่ยะ

น้ำตกแม่ยะ
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และมีแหล่งต้นน้ำมาจากห้วยแม่ยะที่ไหลรวมกันมาเป็นม่านน้ำตกขนาดใหญ่ตกลงมาจากหน้าผาสูงชันร่วม 280 เมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ในบริเวณแอ่งน้ำตกด้านล่าง ในบริเวณน้ำตกแม่ยะนอกจากจะมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ก็ยังเป็นจุดชมนก ชมผีเสื้อ และชมดอกไม้ป่าอีกด้วย
สถานที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่                                                                                                ขอบคุณข้อมูลจาก Skyscanner                                                                         https://www.skyscanner.co.th/news/ท่องเที่ยวเมืองไทยกับ-10

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กุ้งอบวุ้นเส้น

สูตร กุ้งอบวุ้นเส้น


ส่วนผสม
  • ซอสหอยนางรม 2 ช้อนโต๊ะ
  • ซีอิ๊วดำ 2 ช้อนชา
  • ซอสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
  • น้ำซุป 1/4 ถ้วย
  • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งขาว 3 ตัว
  • วุ้นเส้น 200 กรัม
  • เบคอน ตามชอบ
  • ขิงแก่ ตามชอบ
  • กระเทียม 4-6 หัว
  • พริกไทยขาว ตามชอบ
  • คื่นช่าย ตามชอบ                                  
 วิธีทำ
1.ผสมเครื่องปรุงรสก่อนโดยใส่ ซอสหอยนางรม ซีอิ๊วดำ ซอสปรุงรส น้ำตาลทราย น้ำซุป และซีอิ๊วขาว คนให้เข้ากัน
2.นำกุ้งลงไปแช่ส่วนผสม แล้วตักขึ้นมาวางพักไว้ จากนั้นก็นำวุ้นเส้นลงไปคลุกกับส่วนผสม
3.นำหม้อมาตั้งไฟอ่อนๆ (ใช้หม้อสำหรับกุ้งอบวุ้นเส้น) ใส่เบคอนลงไป ผัดกับขิงแก่ กระเทียม และพริกไทยขาว ผัดจนน้ำมันออกมาจากเบคอน
4.ใส่วุ้นเส้นลงไปในหม้อ ตามด้วยกุ้ง และคื่นช่าย ปิดฝาอบ อบด้วยไฟอ่อน 5 นาที จนกุ้งด้านบนสุก
5.เสร็จแล้วก็ยกลงมาจากเตา เสิร์ฟทั้งหม้อได้เลย

 เรียบเรียงโดย Food MThai




วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กุ้งล็อบสเตอร์

กุ้งล็อบสเตอร์


ล็อบสเตอร์ (Lobster) เป็นสัตว์ทะเลน้ำเค็มขนาดใหญ่ ลักษณะลำตัวจะมีสีดำปนแดง[1] ชื่อของกุ้งชนิดนี้มาจากคำในภาษาอังกฤษสมัยโบราณว่า Loppestre เป็นคำสมาสของคำภาษาละตินว่า Locusta แปลว่า ตั๊กแตน และ Loppe ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่า แมงมุม ล็อบสเตอร์เป็นสัตว์ขาปล้อง สายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคือล็อบสเตอร์ยุโรปกับล็อบสเตอร์อเมริกา เจริญเติบโตด้วยการลอกคราบ เนื่องจากฟันที่ใช้บดอาหารในกระเพาะอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกภายนอก จึงจำเป็นต้องดึงเอาเนื้อเยื่อของลำคอ กระเพาะ และทวารหนักออกมาด้วย แต่ไม่ใช่ทุกตัวที่จะรอดชีวิตจากกระบวนการลอกคราบนี้


เรียบเรียงจาก วิกิพีเดีย 
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ทะเลไทย

ทะเลไทย สวยติดอันดับโลก 
1. หมู่เกาะสิมิลัน ทะเลน้ำใส                                                                                                                                                                                  อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ในจังหวัดพังงา อำเภอท้ายเหมือง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในแถบบริเวณนี้ หรือแม้แต่นักเที่ยวที่เดินทางมาสัมผัสเองต่างก็เปรียบเปรยว่าที่นี่เหมือนสรวงสวรรค์ใต้สมุทรที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตใต้น้ำหลากสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นหมู่ปะการัง หรือหมู่ปลาหลากสีสันน้อยใหญ่ มีน้ำทะเลใสราวกับกระจก พอมองภาพกว้างๆ แล้วนึกว่าเรือลอยได้ บริเวณชายหาดยังมีหาดทรายสีขาวนวลเนียนน่าเดินเลยลุยรับลมทะเลเป็นอย่างมาก  อีกทั้งที่นี่ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของแหล่งน้ำลึกที่สวยงาม ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก แนะนำว่า ใครที่จะเดินทางมาที่นี่อยากให้มาอยู่สัก 3 วัน 2 คืน รับรองว่าจุใจแน่ ทั้งดำน้ำ ทั้งดูทัศนียภาพธรรมชาติรอบๆ ที่สวยๆ น่าจะเต็มอิ่มจนไม่อยากกลับเลยทีเดียวล่ะ                                                                                                                                
  หมู่เกาะสิมิลัน ทะเลน้ำใส

 หมู่เกาะสิมิลัน ทะเลน้ำใส
  ขอบคุณข้อมูลจาก sanook
          https://www.sanook.com/travel/1397261/
































วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

คาตานะ

ผ่าประวัติศาสตร์ดาบซามูไร: คาตานะ
ดาบคาตานะเป็นดาบญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดตลอดกาล อาวุธที่ดูน่าเกรงขามชนิดนี้ ไม่ได้เพียงแต่ดูสง่างามในยามกวัดแกว่งเท่านั้น แต่ยังมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานแฝงอยู่ในโค้งดาบอันงดงาม
คาตานะเป็นดาบชนิดหนึ่งที่ใช้กันในสมัยโบราณของประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะที่สะดุดตา คือ มีความโค้งเล็กน้อยและมีด้านคมด้านเดียว มีกำบังรูปโค้งหรือสี่เหลี่ยม และด้ามจับที่มีลายแบบเดียวกันสำหรับถือด้วยสองมือ เป็นดาบที่จะคาดอยู่ที่เอวของเหล่านักรบซามูไรในอดีต                                  ความเป็นมา                                                                                           
          การผลิตดาบมีมาหลายศตวรรษแล้วในประเทศญี่ปุ่น แบ่งได้เป็นยุคต่าง ๆ คือ จูโคะโตะ (Joukoto) (ประมาณ ค.ศ. 900 ), โคะโตะ (Koto) (ค.ศ. 900-1596), ชินโตะ (Shinto) (ค.ศ. 1596-1764), ชินชินโตะ (Shinshinto) (ค.ศ.1764-1876), เก็นไดโตะ (Gendaito) (ค.ศ. 1876-1945) และชินซาคุโตะ (Shinsakuto) (ค.ศ. 1953 ถึงปัจจุบัน)                                                                                                                        ลักษณะของดาบคาตานะ
          ดาบคาตานะปรากฎขึ้นครั้งแรกประมาณปี ค.ศ.1400 ถือเป็นดาบแบบใหม่ที่พัฒนามาจากดาบทาชิ (“tachi”) สำหรับคาตานะ หมายถึง คมดาบที่หันขึ้น โดยการตั้งชื่อดาบนั้นจะสื่อถึงลักษณะของรูปแบบคมดาบใหม่ เช่น “อุจิกาตานะ” (“Uchigatana”) หรือ “ทสึบะกาตานะ” (“Tsubagatana”)
          ดาบชนิดใหม่นี้ ทำให้รูปแบบการต่อสู้เปลี่ยนไปด้วย โดยนักรบที่ใช้ดาบคาตานะจะสามารถชักดาบและฟันได้ในการเคลื่อนไหวเพียงครั้งเดียว ทำให้การต่อสู้เป็นไปอย่างรวดเร็วและขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวแรกเป็นหลัก ช่างตีดาบจะต้องทราบถึงรูปแบบการต่อสู้เพื่อที่จะผลิตดาบออกมาได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน ความยาวของดาบคาตานะในสมัยศตวรรษที่ 16 อยู่ในช่วงประมาณ 70-73 ซม. โดยมีการเปลี่ยนแปลงให้สั้นลงไปจนถึง 60 ซม. ก่อนที่ในอีก 100 ปีต่อมาจะกลับไปอยู่ที่ความยาวเดิม
          ดาบคาตานะสามารถใช้คู่กับดาบขนาดเล็กกว่าได้ เช่น “วากิซาชิ” (“wakizashi”) หรือ “ตันโตะ” (“tantō”) การพกดาบคู่สั้นยาวนี้เรียกว่า “ไดโช” (“daishō”) ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงอำนาจและชนชั้นทางสังคมของซามูไร
ประวัติศาสตร์ของดาบคาตานะ
          ในสมัยเมจิ ดาบคาตานะลดความสำคัญลงไปพร้อม ๆ กับสถานะและการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยของซามูไร จนกระทั่งไม่มีการใช้ดาบชนิดนี้และแทบจะสูญหายไป เพราะมีกฎหมายการห้ามพกอาวุธในที่สาธารณะ จนกระทั่งถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีเฉพาะคนในกองทัพเท่านั้นที่ได้รับอนุญาติให้พกดาบได้ อย่างไรก็ตาม การผลิตดาบจะอยู่ในรูปแบบอุตสาหกรรมที่ลดคุณภาพลงและมีลักษณะแตกต่างออกไป เมื่อเวลาผ่านเลยไปความรู้เกี่ยวกับการตีดาบก็ค่อย ๆ เลือนหายไป
          หลังจากมีการห้ามผลิตดาบในช่วงปี ค.ศ. 1945 ถึง 1953 บรรดาช่างตีดาบได้รับอนุญาตให้ทำงานภายใต้กฎที่เข้มงวด แม้แต่ในปัจจุบันช่างเหล่านี้ก็ต้องผ่านการฝึกงานเป็นระยะเวลา 5 ปี และสามารถตีดาบยาวได้เพียงแค่ 2 เล่มต่อเดือน และดาบทุกเล่มจะต้องได้รับการลงทะเบียนจากรัฐบาล
           ในปัจจุบัน ดาบคาตานะส่วนมากทำขึ้นในรูปแบบอุตสาหกรรมด้วยวัสดุและวิธีการที่ถูกลง ดาบคาตานะแบบดั้งเดิมจึงกลายเป็นของหายากและมีราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมของเหล่านักสะสมทั่วโลก

ขอบคุณข้อมูลจาก jpninfo

http://jpninfo.com/thai/6331

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รูป

Gear
ที่มา : https://mocah.org/4600146-macro-cogwheel-gear-engine-vintage-industrial.html

Engine-Car
ที่มา : https://mocah.org/4514734-engine-car.html